วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8
1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ : การนำเสนออาจมีความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจหลายอย่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อให้พิจารณาผลงาน เพื่อให้เห็นด้วย ให้การสนับสนุน หรืออนุมัติ

1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ : การนำเสนอจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการ ดังนี้
1.ต้องก่อประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ
2.ต้องคำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก
3.ต้องมีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้
4.ต้องไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนคลุมเครือ
5.ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ : 1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับการประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม เพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดีรู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมทำให้ผู้บรรยายรู้ว่าผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น

1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ : 1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน
2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต
3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม
4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย
7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธ

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ : 1. การนำเสนอแบบ Web page เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
2. การนำเสนอแบบ Slide Presentation เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบัน
สื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่7
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ : มี 3 ประเภท ที่สร้างขึนเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนี้
1.อินทราเน็ต
2.เอกซ์ทราเน็ต
3อินเทอร์เน็ต.

2.อินทราเน็ต ( Intranet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ : ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search Engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์คำสำคัญ หรือคีเวิร์ด เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมจะเริ่มทำงาน

4.จงอธิบายวิธีสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ : ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม
GO บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไป ดังนั้น ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นก็จะยิ่งลดจำนวนลง เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง

5. Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : หมายถึง (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ : 1.เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@ 1509
2.เว็บไซต์ LearnOnline

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่6

1.อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : มาจากคำเต็มคือ Internetional Network คือ เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ : ด้านการศึกษา อินเตอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ : ประโยชน์ ดังนี้
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ ซึ่งเป็นการพูดคุยระหว่างผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยการพิมข้อความโต้ตอบ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต WWW มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ : เป็นบริการระบบข่วสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ สามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ E-mail
ตอบ : เป็นบริการรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร
รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ก็ได้
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่5
1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : สำนักงานหรือองค์กรนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์หลายรูปแบบ เพื่อลดความ
ซ่ำซ้อนของข้อมูลและสะดวกในการใช้งานการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ : ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่ต่อเชื่อมเครือข่ายกันนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพ

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ : การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

4.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความอย่างไร
ตอบ : เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อกันทั่วโลกผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก สิ่งที่เรารู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ทุกวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย

5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ : เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ : 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ : มีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์แวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2.ซอฟต์แวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ

คำถามหน่วยการเรียนรู้ที่4

1.ซอฟต์แวร์คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ : ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างเป็นลำดับขั้น ชุดคำสั่งเหล่านี้จะจัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์จะอ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตามโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมได้เขียนไว้
ทำหน้าที่ เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ : ซอฟต์แวร์แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.วอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ : ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ การดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ : เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น งานพิมพ์เอกสาร
งานพิมพ์รายงาน วาดภาพ เล่นเกมส์ หรือโปรแกรมระบบบัญชีรายรับรายจ่าย และเงินเดือน เป็นต้น
5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ : เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง
เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดิสก์ เป็นต้น
6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ : โปรแกรมที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานแตกต่างๆกันได้มากมาย การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้มากมาย เพราะว่ามีการพัฒนาโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ตามความถูกต้องของผู้ใช้งาน
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ : เราใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในการจัดการสารสนเทศเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยการกำหนดวิธีการหรือขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามความต้องการ จำเป็นต้องมีสื่อกลางที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราเรียกภาษาสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ : เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ คือ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการมี ดังนี้
-ติดต่อกับผู้ใช้
-ควบคุมการทำงานของโปรแกรม และอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล
-จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่3
1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีปรโยชน์อย่างไร
ตอบ : คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ
โปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ
ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.มีความเร็วในการทำงานสูง
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโยนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

2.คอมพิวเตอร์มีทีมาอย่างไร
ตอบ : เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายร้อยปี เริ่มจากการสร้างอุปกรณ์ที่ไม่มีกลไกซับซ้อน จนกลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์มีศักยภาพสูงที่นำมาใช้งานในชีวิตประจำวันในขณะนี้ เพื่อนำมาช่วยงานในการคำนวณประมวลผล และสามารถนำไปใช้ในการควบคุมการผลิตงานทางด้านอุตสาหกรรมในโรงงานต่างๆ

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ : ส่วนสำคัญ 5 ส่วนคือ
1.หน่วยรับข้อมูลเข้า
2.หน่วยประมวลผลกลาง
3.หน่วยความจำ
4.หน่วยแสดงผล
5.อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ : กรรมวิธีคอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานมากที่สุด
ส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ฮาร์ดแวร์ หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ หรือส่วนชุดคำสั่ง
3.ข้อมูล
4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ : ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้
จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1.ส่วนประมวลผล
2.ส่วนความจำ
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ : หน่วยประมวลผลกลาง หรือเรียกคำย่อว่า ซีพียู (CPU)

7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM)และแบบรอม (ROM) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ : หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน จะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ส่วนรอมเป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร

8.จานบันทึกข้อมูล (Hard Disk)ประกอบด้วยอะไรทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ : ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าวตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฏิบัติงานต้องการโดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์ (Megabyte) กิกะไบต์ (Gigabit) พิกเซล (Pixel) จิกะเฮิร์ซ (GHz)
ตอบ : เมกะไบต์ คือ หน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage)ในคอมพิวเตอร์มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์
กิกะไบต์ คือ เป็นหน่วยวัดขนาดในข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิส
พิกเซล คือ เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือจุดภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น
จิกะเฮิร์ต คือ สัญญาณที่มีความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที และมีแวโน้มที่สามารถพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ : จอภาพ แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่2
1.คำว่า "ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ : ระบบ หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ล่ะงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน
ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท
วิธีเชิงระบบ หมายถึง เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งจะอาจเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ : มี 3 ประการ ได้แก่
1.ปัจจัยนำเข้า ( Input)
2.กระบวนการ (Process)
3.ผลลัพธ์ (Output)
3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ : คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ
ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ : องค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่
ระบบความคิด ระบบเครื่องมือ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ : ด้านจุดมุ่งหมาย มี 4 ประการ ได้แก่
-ข้อมูล - สารสนเทศ -ความรู้ -ปัญหา
ด้าสารสนเทศทั่วไปมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
-ข้อมูลคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
-ข้อมูล
-สารสนเทศ
-โปรแกรมหรือซอฟแวร์
-บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดการอย่างไร
ตอบ : ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดงนี้
ขั้นตอนที่1 การวิเคราห์ระบบ
ขั้นตอนที่2 การสังเคราะห์ระบบ
ขั้นตอนที่3 การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กันระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ : ระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
ระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่เสริมสร้างการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ : ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเอง
ความรู้ คือ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศระดับต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล คุณสมบัติของความรู้อาจได้ทั้งประโยชน์และโทษต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวข้องคือเป็นปัจจัยหนึ่งของระบบสารสนเทศ
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ : 1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1.1การรวบรวมข้อมูล
1.2การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
1.3การจัดการข้อมูล
1.4การควบคุมข้อมูล
1.5การสร้างสารสนเทศ
2.วิธีการเก็บข้อมูล
2.1การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
2.2การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
2.3การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ : นิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานได้แก่
1.แลน คือ เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.แวน คือ เครือข่ายบริเวณกว้าง
3.อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ๋
คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  
1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำสารสนเทศ
ตอบ : เทคโนโลยี คือ การนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์เป็นระบบเพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหา สารสนเทศ คือ ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศนั่นเอง

2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถึงอะไร
ตอบ : หมายถึง Information and Communication Technology หรือ ICT เป็นการสื่อสารแบบไร้สายที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ : เกิดจากการรวมตัวกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ : เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารไร้สายก็กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI ) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ : เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยมุ่งหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตามลักษณะของโปรแกรม
ส่วนประกอบ 1.ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล
2.ระบบประมวลภาษาพูด
3.ระบบการรู้จำเสียงพูด
4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ

6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ : ความสำคัญต่อด้านพัฒนาประเทศอย่างมาก เช่น
1.ด้านวิชาการ ช่วยในการค้นคว้าศึกษาแหล่งข้อมูล
2.การดำรงชีวิตประจำวัน ให้มีความสะดวกรวดเร็วในการทำกิจกรรม
3.การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันระหว่านธุรกิจมากขึ้น
4.ด้านการติดต่อสื่อสาร มีการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
5.ด้านผลผลิต เป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำงานได้มากขึ้น
ทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเชื่อมโยงกันแบบเครือข่ายหรือใยแมงมุมได้ั่วทุกมุมโลกโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น

7. สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ : สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ในการใช้งานควรมีลักษณะ ดังนี้
- ความสมบูรณ์ครอบคลุม
-ความสัมพันธ์กับเรื่อง
-ความถูกต้อง
-ความเชื่อถือได้
-การตรวจสอบได้

8.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ : คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรสาร

9.จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ : ช่วยให้ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางเพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์
การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว

10.จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ : ประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมในหลายด้าน
-ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและก้าวไกล
-ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
-การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
-สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก
-สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต
-ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ๆ
-กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
-สามารถเผยแพร่สาระสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่สังคมโลกได้โดยง่าย
-ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556



การตั้งค่า ข้อความ

Gadget ข้อความ (Text) เราสามารถใส่ข้อความเป็นตัวอักษรและเป็นลิงก์ได้้ เราไปดูการตั้งค่า Gadget ข้อความ (Text) กันเลย

เมื่อทำการเพิ่ม Gadget ตัวนี้จะแสดงการตั้งค่าดังรูปภาพครับ
  1. ชื่อหัวข้อ
  2. ตัวหนา
  3. ตัวเอียง
  4. สีของตัวอีกษร
  5. ใส่ Link ให้กับข้อความ
  6. ทำข้อความให้เป็นจุดสนใจ
  7. ส่วนของแก้ไข Html
  8. ช่องเขียนข้อความ
สังเกตุดูจะเหมือน การสร้างบทความ เกือบๆทุกประการเลยครับ เมื่อเขียนเสร็จก็บันทึก Gadget ก็จะแสดงเรียบร้อยดังรูปตัวอย่าง



วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 3
ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ มา 1 วิชา ในสาขาสังคมศึกษา 1ระบบตามหลัก I PO ในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย

                                                             ประวัติศาสตร์อเมริกา


       ก่อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกา(รวมถึงอาณานิคมก่อนหน้านั้น) จะถูกก่อตั้งขึ้น พื้นที่ทั้งหมดของสหรัฐฯในปัจจุบันเดิมเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับชนพื้นเมืองชาวอเมริกันมาก่อนเป็นเวลาถึง15,000 ปี จนกระทั่งในคริสตศตวรรษที่ 16 ได้มีการสำรวจบุกเบิกและตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปเริ่มต้นขึ้นราชอาณาจักรอังกฤษ ได้ทำการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ และเข้าควบคุมอาณานิคมที่ก่อตั้งมาก่อนอื่นๆ จนกระทั่งในที่สุด หลังจากที่ถูกรัฐบาลตัวแทนจากเกาะบริเดน ปกครองมาเป็นเวลาร้อยกว่าปี อาณานิคมที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจำนวน 13 อาณานิคม ได้ทำการประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 (พ.ศ.2319) ทำให้เกิดสงครามปฏิวัติอเมริกาขึ้น และแล้วสงครามก็สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1783 (พ.ศ.2326) โดยชัยชนะเป็นของอดีตอาณานิคม เมื่อราชอาณาจักรอังกฤษยอมรับอดีตอาณานิคมที่อังกฤษเคยปกครองมาก่อนให้เป็นประเทศใหม่ ตั้งแต่นั้นมาประเทศก่อตั้งใหม่ที่ถูกเรียกว่า 
"สหรัฐอเมริกา" ก็แผ่ขยายอาณาเขตของตนเองจาก 13 มลรัฐไปถึง 50 มลรัฐกับอีกหนึ่งเขตปกครองกลาง รวมถึงดินแดนภายใต้การปกครองอีกหลายแห่งอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทำให้สหรัฐอเมริกามีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึงกว่า4 เท่าตัว และด้วยเนื้อที่กว่า 9.1 ล้านตารางกิโลเมตรของสหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐฯกลายเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก (แต่ในบางแหล่งข้อมูลที่ทำการจัดอัน
ดับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะอยู่ในอันดับสาม ส่วนสหรัฐจะตกไปอยู่อันดับสี่ ถ้าทำการนับจีนไทเปวมเข้าไปด้วย) อีกทั้งสหรัฐฯ ยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสาม ด้วยจำนวนประชากรถึงเกือบ 300 ล้านคน ได้มี มลรัฐของสหรัฐอเมริกา 48 มลรัฐ (ซึ่งมักจะถูกเรียกว่าแผ่นดินใหญ่)ตั้งอยู่บนดินแดนระหว่างแคนาดาและเม็กซิโกส่วนอะแลสกาและฮาวายนั้น ไม่ได้อยู่ติดกับรัฐอื่น นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังมีดิสตริกต์ออฟโคลัมเบียซึ่งเป็นเขตปกครองกลางประจำสมาพันธรัฐเป็นเมืองหลวง รวมถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาอยู่ทั่วโลก มลรัฐทั้ง 50 มลรัฐของสหรัฐอเมริกานั้นมีสิทธิในการปกครองตนเองในระดับสูงภายใต้ระบบสหพันธรัฐสหรัฐอเมริกาได้ธำรงค์การปกครองระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยเสรีรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาในวันที่17 กันยายน ค.ศ. 1787 (พ.ศ.2330)ตั้งแต่นั้นมา สถานะการเมืองของสหรัฐอเมริกายังคงมั่นคงมาจวบจนถึงทุกวันนี้ โดยสถานะทางเศรษฐกิจและทางทหารของสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้นอย่างคงที่ตลอดช่วงกลางถึงช่วงปลายคริสตศตวรรษที่20 สงครามโลกครั้งที่1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทั้งสองครั้งอยู่ในฝ่ายผู้ชนะ จากนั้นมาสหรัฐฯก็เป็นประเทศอภิมหาอำนาจคู่กับสหภาพโซเวียต และทำสงครามแนวใหม่ที่เรียกว่าสงครามเย็นต่อกันจนกระทั่งในคริสตทศวรรษที่ 90 (พ.ศ.2533-2534) เมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลง ทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวมาจนถึงทุกวันนี้

INPUT
1. ผู้สอน ครู อาจารย์
2. ผู้เรียนหรือนักเรียน
3. สถานศึกษา โรงเรียน และมหาวิทยาลัย
4. การตั้งวัตถุประสงค์การสอน
5. แผนการสอน
6. สื่อการสอน
7. หนังสื่อเรียนหรือตำราเรียน
8. กิจกรรมระหว่างเรียนและแบบฝึกหัด

PROCESS
1. แจกแผนการสอนและเอกสารการสอนให้กับผู้เรียนทุกคน
2. อธิบายรายวิชาและบอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียนได้เข้าใจ
3. ทำข้อตกลงระหว่างเรียนกับผู้เรียน
4. วัดผลประเมินผลผู้เรียนก่อนเรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์อเมริกา
5. การสอน การบรรยายในชั้นเรียน
- แบบอภิปราย
-ใช้สื่อในการสอนแทน
6. การให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนอกเนื้อจากเอกสารที่นำมาเเจกให้นักเรียนเเละการเรียนการสอนในชั้นเรียน
7. ทำกิจกรรมระหว่างเรียนและมอบหมายงานให้กับผู้เรียน
8. การสอบผลการเรียนของผู้เรียน
9. การปรเะมินผลการเรียนของผู้เรียน

OUTPUT
1. ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความเป็นมาและประวัติศาสตร์ของอเมริกา
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ของประวัติศาสตร์อเมริกา
3. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
4. ผู้เรียนสามารถสอบวัดผลประเมินผลได้
  
retrieved from
 https://sites.google.com/site/mamheineken92

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Question:การผลิตน้ำตาลทราย
จัดว่าเป็น system หรือไม่?
ถ้าเป็น จงบอกองค์ประกอบของระบบการผลิตน้ำตาลทราย ตามระบบ I PO มาโดยละเอียด
เป็น

I    P O

Input
1.      การปลูกอ้อย = ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 57.7 แสงแดดจัด ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่าปีละ 1,500 มิลลิเมตร และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ ถ้าฝนน้อยกว่านี้ควรจะมีการชลประทานช่วย การคมนาคมสะดวก และอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 50 กิโลเมตร  ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ  การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2.   เตรียมท่อนพันธ์ = พันธุ์อ้อยมีความสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ อายุประมาณ 8-10 เดือน ควรเป็นอ้อยปลูกใหม่ มีการเจริญเติบโตดีปราศจากโรคและแมลง   ตาอ้อยต้องสมบูรณ์ ควรมีกาบใบหุ้มเพื่อป้องกันการชำรุดของตาและเมื่อจะปลูกจึงค่อยลอกออก  ขนาดท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรมีตา 2-3 ตา หรือจะวางทั้งลำก็ได้
3.    การลงมือปลูก = 1. ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝนการปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เพราะจะใช้แรงงานเพียง 3 คนเท่านั้น คือคนขับ คนป้อนพันธุ์อ้อย และคนเตรียมอุปกรณ์อย่างอื่นถ้าเป็นเครื่องปลูกแถวเดียว แต่ถ้าเป็นเครื่องปลูกแบบ 2 แถว ก็ต้องเพิ่มคนขึ้นอีก 1 คน โดยจะรวมแรงงานตั้งแต่ยกร่อง สับท่อนพันธุ์ ใส่ปุ๋ย และกลบร่อง มารวมในครั้งเดียว ซึ่งเกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
4.    การใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช =  ใส่ปุ๋ยรองพื้น ใส่ก่อนปลูกหรือพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหาร เอ็น พี เค ทั้ง 3 ตัว เช่น 15-15-15, 16-16-16 หรือ 12-10-18 อัตรา 50-100 กิโลกรัม/ไร่ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อ้อยอายุไม่เกิน 3 - 4 เดือน ควรเป็นปุ๋ยไนโตรเจนอย่างเดียว เช่น 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่    ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก   ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก

5.    การตัดอ้อยและขนส่งอ้อยสู่โรงงาน = เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

P(process)
1. การสกัดน้ำอ้อย ( Juice Extraction ) : อ้อยจะถูกลำเลียงจากสะพานลำเลียงอ้อยเข้าสู่เชรดเดอร์ เพื่อทำการฉีกอ้อยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วผ่านเข้าไปในชุดลูกหีบ ( 5ชุด ) เพื่อทำการสกัดน้ำอ้อย ส่วนกากอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ในหม้อไอน้ำเพื่อผลิตไอน้ำและผลิตไฟฟ้า ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล
2. การทำใสน้ำอ้อย ( Juice Clarification ) :น้ำอ้อยจากการสกัดทั้งหมดจะข้าสู่กระบวนการทำใส เพื่อทำการแยกเอาสิ่งสกปรกต่างๆออก โดยการให้ความร้อนและผสมปูนขาวให้ตกตะกอนในถังพักใส (Clarifier)จะได้น้ำอ้อยใส ( Clarified Juice )
3. การระเหย ( Evaporation ) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะเข้าสู่ชุดหม้อต้ม ( Multiple Evaporator ) เพื่อระเหยเอาน้ำออก ( ประมาณ 60 – 65 % )จะได้น้ำเชื่อม ( Syrup) ที่มีความข้น ( 60 – 65 บริกซ์)
4. การทำให้ตกผลึก ( Crystallization ) : น้ำเชื่อมจากการต้มจะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) 1. เพื่อระเหยน้ำออก จนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว จะเกิดผลึกขึ้นมา โดยผลึกน้ำตาลและน้ำเลี้ยงผลึกที่เกิดขึ้น เรียกว่า แมสสิควิท(Massecuite ) ส่วนน้ำเลี้ยงผลึก เรียกว่า Mother Liquor
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล ( Centrifugaling) : แมสสิควิทจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากน้ำเลี้ยงผลึก โดยใช้หม้อปั่น ( Centrifugals)ได้เป็นน้ำตาลทรายดิบ ส่วนน้ำเลี้ยงผลึกที่แยกออกจากน้ำตาล เรียกว่า โมลาส ( MOLASSES)หรือกากน้ำตาล
O (Output)

1. ได้น้ำตาลตามที่เราต้องการและได้กากน้ำตาลเพื่อไปทำอาหารสัตว์
2. บรรจุใส่บรรจุภัณฑ์
3. ส่งออกเพื่อรอการจัดจำหน่าย


retrieved from

http://sugarcane2836.blogspot.com/p/blog-page_06.html
http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html


เฉลยคำตอบ ครั้งที่ 2

ปัจจัยนำเข้า

- โรงงานน้ำตาล
- เครื่องจักร
- วัตถุดิบ
- เเรงงาน
- เงินทุน

กระบวนการ
- การสกัดน้ำอ้อย
- การทำความสะอาดน้ำอ้อย
- การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
- การเคี่ยวให้เป็นผลึกเเละกาก
- การปั่นเเยกผลึกน้ำตาล
- การอบ
- การบรรจุถุง

ผลลัพธ์
- น้ำตาลทราย
- กากน้ำตาล
- ชานอ้อย




วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556



1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง บอกมา 5 ประการ
       
        Smart Phone คือโทรศัพท์ที่มีความสามารถมากกว่าการโทรออกและรับสาย ด้วยความที่ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการอยู่ภายใน ทำให้มันสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเราซื้อ Smart Phone สิ่งที่เราจะได้มาพร้อมกับเครื่องก็คือ ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ เช่น Android, iOS, Windows mobile เวอร์ชั่นต่าง ๆ นอกจากนี้จะมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์จำนวนหนึ่ง โปรแกรมเหล่านี้มักถูกเรียกว่า "แอ็พ" โดยมีทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่กับ Smart Phone ก็คือ Internet ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายค่าย และมี Internet ความเร็วต่าง ๆ ให้ได้เลือกใช้งาน เช่น Wifi, EDGE/GPRS, 3G เป็นต้น หากคุณกำลังมองหาโทรศัพท์ตัวใหม่ แนะนำให้เลือกซื้อโทรศัพท์ที่เป็น Smart Phone แล้วคุณจะรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ง่ายขึ้นมาก

ประโยชน์ของ smartphone

ผู้ใช้สามารถติดตั้งแอพที่ต้องการใช้งานไดอย่างหลากหลาย
ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อเครื่องข่ายไร้สายได้ทุกที่
ผู้ใช้สามารถรับส่งอีเมลได้อย่างสะดวกสบาย
ผู้ใช้สามารถสร้างงานเอกสารได้
ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย
retrieved from http://www.ninetechno.com/a/google-play-android

2. Android คืออะไร จะพบสิ่งนี้ที่ไหน

        แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ:Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่ googleพัฒนาขึ้น แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางgoogleได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรี โทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ เอชทีซี ดรีม ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551
        เวอร์ชันล่าสุดของแอนดรอยด์คือ 4.2 (JellyBean) ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 4.2 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Photo Sphere ที่สามารถถ่ายรูปได้ 360 องศา และ Keyboard Gestures ที่สามารถลากนิ้วแทนการสัมผัสตัวอักษรได้ android เป็นสิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือหลายยี่ห้อ มันมีหน้าที่เป็นชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของ hardwareชิ้นต่างๆของโทรศัพท์เครื่องๆนั้น ไมว่าจะเป็น หน้าจอ กล้อง แป้นกด ลำโพง ไมค์ และอื่นๆทั้งหมด โดยมันยังทำหน้าตาออกมา ให้ติดต่อกับเจ้าของโทรศัพท์ได้ง่ายๆด้วย เช่นแสดงผลหน้าจอ ปุ่มกดเบอร์โทรศัพท์

retrieved from http://th.wikipedia.org/wiki

3. Cyber bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด

       Cyberbullying คือ การรังแกกันผ่านโลกไซเบอร์ระหว่างเด็กกระทำต่อเด็กด้วยกัน โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่น หรือการส่งต่อข้อมูลลับเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยการรังแกกันจะต้องมีความต่อเนื่อง และทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกเจ็บปวดหรือได้รับผลกระทบทางจิตใจ Cyberbullying เป็นความรุนแรงที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำ ซึ่งสามารถทำความรุนแรงกับใคร ที่ไหน หรือเมื่อไรก็ได้ และผู้กระทำก็สามารถจะตอกย้ำความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยที่สักวันหนึ่งเหยื่อที่เคยถูกกระทำ ก็อาจกลับมาเป็นผู้กระทำความรุนแรงเองเพื่อแก้แค้น เป็นวงจรความรุนแรงที่ไม่มีจุดจบ ด้วยเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆ เขาก็ทำกัน ซึ่งผลกระทบก็คือความรุนแรงและบาดแผลที่เกาะกินในจิตใจของเด็กๆ
      นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้
        จากการสำรวจเด็กในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า มีเด็กถึง 48% ที่อยู่ในวงจร Cyberbullying โดยอาจเป็นทั้งผู้กระทำ เหยื่อ และผู้เฝ้าดูหรือส่งต่อข้อมูลไปยังกลุ่มอื่นๆ ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ที่อยู่ในวงจรนี้จะอยู่ในชั้นมัธยมต้น โดยเวลาที่ใช้ในการ Cyberbullying คือ ช่วง 6 โมงเย็น – 3 ทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กๆ ทำการบ้านและใช้อินเตอร์เน็ต

retrieved from http://healthkm.exteen.com/20101006/cyberbullying